ไปที่ 
รวมพระดอทคอม >> กระดานสนทนา >>

แบ่งปันความรู้ พระแท้

+0

วิธีการ ดูพระกรุ 002

โด่งมหาชัย (0) ยืนยันตัวตนแล้ว

โพสต์กระทู้: 18 (+0 Like)
ตอบกระทู้: 20 (+0 Like)


พระกรุ ยุคเก่า  แบ่ง ได้ ตามเนื้อ ได้

1.  เนื้อโลหะ  ได้แก่ เนื้อชินเงิน  และสำริด

2.  เนื้อดินเผา

3. วัสดุอื่นๆ

 

เรามา เริ่ม ดู พระกรุ เนื้อชิน  กันก่อน เพราะ ดูง่าย หาข้อยุติ ได้ แน่ชัด

เรามาทำความรู้จัก พระเนื้อชิน   กันก่อน

พระเนื้อชิน นี้ อันที่จริง ก็ ตะกั่ว  มีส่วนผสม ของ ดีบุก บ้างเล็กน้อย  และมีโลหะ พลวงผสมอยู่ด้วย

เมื่อหลอม และเท ลงแม่พิมพ์ แล้ว ดีบุก ที่ มี ถ.พ. ต่ำกว่าตะกั่ว ก็มักจะลอยขึ้นมาอยู่ ข้างบน

ทำให้ พระที่เทหล่อ มีผิวสีขาวแวววาว  จึงเรียกว่า มีผิวปรอท

ส่วนพระที่ ผสม แก่ตะกั่ว คือ มี ดีบุกน้อย หรือ แทบไม่มีเลย

เทออกมา ก็ จะมีมี ผิวปรอท

ทีนี้ เรา คงพอ นึกภาพออกมา ได้บ้างแล้ว

พระเนื้อชินเงิน  ก็ คือ ตะกั่ว+ดีบุก

ส่วนพระตะกั่วสนิมแดง  ก็ คือ ตะกั่ว นั่นเอง  แต่ จะแดงหรือไม่มีสนิมแดง ขึ้นอยู่ กับองค์ประกอบภายนอก อีกด้วย  ไว้ ค่อย อธิบาย ในรายละเอียด อีกครั้ง

 

พระเนื้อชินเงิน เมื่อ เก็บไว้นานๆ หลายสิบหลายร้อยปี  ผิวปรอท ที่ เคยเงางาม ก็ เริ่ม หมอง ลง ซีด ดูเหมือนแห้ง  ลง

พอนานเข้าไปอีก ปรอท แห้งซีด ลงมากๆ เข้า จน เรียกได้ว่าปรอทตาย (คือ แห้งและซีด มากๆ)

เนื้อระเบิด  เป็นจุดตาย  ของพระเนื้อชิน อย่างหนึ่ง

เนื้อระเบิด  คือ การเกิดสนิม ที่กินลึก จากภายใน ขยายตัว ดันออกมาภายนอก  จุดที่ระเบิด จึง มักนูน บวม ออกมาจากข้างใน

เนื้อระเบิด ต้อง เป้นสีดำ  ตรงนี้ สำคัญ จำไว้แม่นๆ

จำเรื่อง เนื้อระเบิด ไว้ 2 ข้อ นี้ ไม่ พลาดแน

1.  ต้อง ระเบิดดันนูนออกมาจากข้างใน

2.  ต้อง เป็นสีดำ

เรื่อง ดู ปรอท  คงต้อง สังเกตเปลียบเทียบ บ่อยๆ

อธิบาย เป็นตัวหนังสือ คง เห็นภาพ ได้ ไม่ชัดเจน  ไว้มี โอกาส จะชี้จากภาพ ประกอบ ให้ ดู เป้นจุดๆ ไป

 

จากภาพตัวอย่าง

เป็น พระเทริดข่นนก ทรงเครื่อง เนื้อชินเงิน  กรุวัดพระศรีมหาธาตุ ลพบุรี

สังเกต รอยระเบิด ได้ หลายจุ

1. บริเวณ หน้าผาก  และ ไหล่+คอ ด้านขวาองค์พระ

2.  ด้านหลัง เป็นจุด ย่อมๆ หลายจุด

 

เนื่องจากพระองค์ นี้ ยังไม่ เคยผ่านการใช้ ผิวยังเดิมๆ อยู่

การสังเกตปรอท ได้ ทั้งด้านหน้า และด้านหลัง

เป็นปรอท แห้งและตายแล้ว เนื่องจากเป็นพระกรุ ลพบุรี ยุคต้นๆ ก็ นับพันปี  ยุคกลางก็ หลายร้อยปี  ยุคท้าย ก็ ต่อเนื่องกับยุคอยุธยา ยังหลายร้อยปี เช่นกัน

พระองค์ นี้ ได้จากกรุวัดพระศรีฯ ลพบุรี  กรุนี้ มีพระหลายยุค รวมกันอยู่ คือ ตั้งแต ยุคเก่า ก็มี เมื่อซ่อมแซม พระเจดีย์ ก็ สร้างพระบรรจุเพิ่มไว้อีก หลายครั้งหลายคราว

สำหรับพระองค์ นี้ น่าจะมีอายุ ไม่น้อยกว่า 700 ปี

ลองนึกตามไป ว่า ระยะเวลา ที่อยู่ในกรุ ทั้งร้อนในเวลากลางวัน   มีความชื้น ในช่วงฤดู ฝน ฯ

พระเนื้อโลหะ อย่างนี้ การผุกร่อนย่อมมี บ้าง เป็นปกติ

พระในกรุเดียวกัน ในยุค เดียวกัน ก็มี บางองค์ ที่ยังสวยงาม มาก

ก็ เคยพบ เป็นพระที่ เก็บไว้ ดี ในกรุ ที่แห้ง หรืออยู่ ตอนบนของกรุ ฯ

 

ลองพิจารณาตาม ไป นะครับ ไว้มี เวลา ค่อยมาเล่าสู่กันฟัง อีกในภาค 3


+0
ความคิดเห็นที่: 1
จากคุณ: โด่งมหาชัย (0) ยืนยันตัวตนแล้ว  เขียนเมื่อ: 10 ต.ค. 56 @ 16:53  (IP: 110.77.183.55)
โด่งมหาชัย (0) ยืนยันตัวตนแล้ว

โพสต์กระทู้: 18 (+0 Like)
ตอบกระทู้: 20 (+0 Like)


ตัวอย่าง พระ เนื้อชินเงิน ผิวระเบิด และ เนื้อระเบิด อีกสักองค์

องค์ นี้ แม้น ผิวพระปรอทยัง สวย

แต่ ก็มี บางส่วน ที่ปรอทแห้ง และ ปรอทตาย ปะปนกัน อยุ่

ลองสังเกตดู นะครับ




ท่านต้องเป็นสมาชิกและทำการเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะร่วมแสดงความคิดเห็นได้

เข้าสู่ระบบ  สมัครสมาชิก