รุ่น รวยมหาเศรษฐีครูบาชัยยาปัถพี ชยฺยรตฺนจิตฺโต สถานธรรมดอยดวงแก้วสัพพัญญู ออกปี 2557

สถานธรรมดอยดวงแก้วสัพพัญญู ต.เวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า เชียงราย


**** เว็บรวมพระดอทคอม เป็นสื่อกลางให้ข้อมูลการจัดสร้างพระรุ่นนี้เท่านั้น ไม่ได้เป็นศูนย์พระเครื่องและไม่ได้รับจองพระเครื่องรุ่นนี้ **

  • รูปแบบเหรียญด้านหน้า รูปแบบเหรียญด้านหน้า Credit:
  • รูปแบบเหรียญด้านหลัง รูปแบบเหรียญด้านหลัง Credit:
  • รูปแบบเหรียญเทพทันใจ  ด้านหน้า รูปแบบเหรียญเทพทันใจ ด้านหน้า Credit:
  • รูปแบบเหรียญเทพทันใจ  ด้านหลัง รูปแบบเหรียญเทพทันใจ ด้านหลัง Credit:

ขนาดจริง ฟิตกรอบ 75% 100% 125% 150% 200% รูปแบบเหรียญด้านหน้า
-
-

จำนวนและแบบที่จัดสร้าง
จำนวนและแบบที่จัดสร้าง

ชาวไทยล้านนามีความตั้งมั่นในบวรพระพุทธศาสนา ทำให้ศาสนาพุทธในภาคเหนือมีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน สาเหตุนึงที่ทำให้ความศรัทธามีมาอย่างต่อเนื่องนั้นเพราะทางภาคเหนือไม่ขาดพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ อันเป็นที่พึ่งทางจิตใจ เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ และเป็นที่เคารพสักการะของชาวล้านนา โดยส่วนมากมักเรียกพระสงฆ์ที่ตนเคารพนับถือนั้นว่า"ครูบา"ซึ่งพระสงฆ์ที่มักถูกเรียกว่าครูบานั้น ต้องเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ  ครองสมณเพศมาแต่สามเณร มีอายุพรรษาสูง และได้รับการยอมรับเป็นวงกว้างจากศรัทธาสาธุชน แต่ยังมีครูบาท่านนึงที่ได้รับการยอมรับนับถือจากคนทั่วไป ให้ใช้คำนำหน้าว่า"ครูบา"ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร แม้แต่ครูบาบุญชุ่ม ญาณสงฺวโร กล่าวถึงท่านไว้ว่า "นี่เณรน้อยรูปนี้ไม่ธรรมดา ท่านผู้นี้อีกหน่อยจะได้เป็นกำลังของพระศาสนา จะได้เป็นที่พึ่งของศรัทธาแน่นอนในอนาคต" ปัจจุบันนี้ท่านได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นั่นคือ"ครูบาชัยยาปัถพี ชยฺยรตฺนจิตฺโต" แห่งสถานธรรมดอยดวงแก้วสัพพัญญู ต.เวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย คนบุญผู้สืบทอดวิชาเก่าแก่ของล้านนา ท่านแตกฉานอักขระล้านนา(ตั๋วเมือง) เรียนมนต์คาถา สู่การลงอักขระยันต์ต่างๆ ซึ่งครูคนแรกของท่านคือ ตาทวด(อุ๊ยหม่อนสน) ผู้เชี่ยวชาญวิชาทำเทียนมงคลต่างๆ เช่น เทียนเศรษฐีเรือนคำ เทียน๙จันทร์ เทียนเมตตาบัลดาลโชค ซึ่งตาทวดของท่านได้รับถ่ายทอดจาก ครูบาหม่อง วัดศรีถ้อย และได้ถ่ายทอดมาถึงครูบาชัยยาปัถพี นอกจากนี้ตาทวดของท่านยังเชี่ยวชาญวิชานะหน้าทองพรหมสามหน้า และวิชามหาเสน่ห์เมตตามหานิยม นอกจากการเรียนสรรพวิชาต่างๆ ครูบาชัยยาปัถพียังมีความสนใจในด้านวิปัสสนากรรมฐาน โดยท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ครูบาอินตา วัดวังทอง ซึ่งนอกจากศึกษากรรมฐานแล้วนั้นยังได้คาถาอาคมต่างๆเพิ่มเติมอีกด้วย ครูบาชัยยาปัถพีใส่ใจในการฝึกสมาธิให้แก่กล้าจนสามารถบำเพ็ญภาวนาครั้งนึงได้เป็นเวลานาน การอยู่นิโรธกรรมเป็นที่นิยมของพระสงฆ์ทางภาคเหนือที่สนใจในการปฏิบัติกรรมฐาน ครูบาชัยยาปัถพีก็ใช้วิธีการปฏิบัติแบบนี้เช่นกัน โดยอยู่นิโรธกรรมครั้งละประมาณ7วัน ซึ่งท่านใช้วิธีปฏิบัติแบบนี้มาตั้งแต่เป็นสามเณร จนกระทั่วบวชเป็นพระ ซึ่งในแต่ละครั้งท่านมีความก้าวหน้าในทางกรรมฐาน และได้พบกับเรื่องอัศจรรย์ต่างๆมากมาย แต่มีอยู่ครั้งนึงครูบาชัยยาปัถพีนิมิตเห็นเทวดาซึ่งมีรูปงามกว่ามนุษย์ทั่วไป ได้นิมนต์ท่านเพื่อมอบยันต์อันศักดิ์สิทธิ์ โดยเทวดาองค์นั้นก็ได้ประสิทธิ์วิชาให้ซึ่งก็คือ วิชา"ยันต์พญานกยูงทอง" อันเป็นยันต์ประจำตัวของครูบาชัยยาปัถพี ที่นำมาใช้โปรดญาติโยมทั้งหลายที่ขาดที่พึ่ง ได้รับความเดือดเนื้อร้อนใจต่าง ด้วยความรู้ทางวิชาอาคมต่างๆที่ได้ร่ำเรียนมา ประกอบกับการมีสมาธิที่แน่วแน่ตั้งมั่นทำให้ผู้ที่เคารพศรัทธาทั้งหลายนั้น ผ่านพ้นวิกฤติไปได้อย่างอัศจรรย์ใจ ไม่ว่าจะเป็นการทำเทียนมงคลต่างๆที่มีผู้ไปใช้แล้วเห็นผล การทำวัตถุมงคล ตะกรุตเครื่องราง ก็มีประสบการณ์มากมายเป็นที่กล่าวขาน และที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้เลยนั้นก็คือ ยันต์นกยูงทองที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของครูบาชัยยาปัถพี ท่านใช้ยันต์นี้ทั้งเจิมบ้าน บริษัท ห้างร้าน เจิมรถ และเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ทุกท่าน ครูบาชัยยาปัถพีเมตตาอนุญาตให้เชิญยันต์นกยูงทองมาอยู่บนเหรียญครูบาชัยยาปัถพี รุ่น"รวยมหาเศรษฐี" และท่านยังอวยพรให้แก่ทุกๆท่านที่ได้บูชาเหรียญรุ่น"รวยมหาเศรษฐี"เป็นภาษาจีนว่า"馬上發財"มีความหมายว่าให้"รวยเร็วๆ"

2093




รวมพระ-วิกิ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลและรูปภาพที่ได้นำเสนอนี้จะเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สะสม ให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และขอกราบขอบพระคุณเพื่อนนักสะสมที่ได้อนุเคราะห์ให้ข้อมูลและรูปภาพแก่ทางเรา ทั้งนี้อาจมีรูปภาพบางภาพที่นำมาใช้ โดยที่ยังมิได้แจ้งเจ้าของภาพเพื่อขออณุญาตล่วงหน้า จึงขอใช้โอกาสนี้เพื่อขออภัยและขออณุญาตนำรูปภาพของท่านมาเผยแพร่ภายในในเว็บไซต์ เพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆ นักสะสมท่านอื่นๆ ต่อไป

หากท่านต้องการติดต่อเพื่อให้ข้อมูลพระ หรือพบเห็นข้อความหรือรูปภาพที่ไม่ถูกต้อง ท่านสามารถแจ้งข้อมูล ได้ที่ www.ruampra.com/wiki/aboutwiki.aspx