บริหารงานโดย: NACHALITI (0) ยืนยันตัวตนแล้ว
จำนวนพระเครื่องในร้าน 757 องค์
เพิ่มรายการนี้เป็น “พระเครื่องในร้านที่ท่านสนใจ”

mt10-305พระปัจเจกพุทธเจ้าเนื้อเงิน หลวงพ่อเล็กวัดท่าขนุน ปี2550 หน้าตัก 1 ซ.ม.


พระปัจเจกพุทธเจ้าเนื้อเงิน หลวงพ่อเล็กวัดท่าขนุน ปี2550 หน้าตัก 1 ซ.ม. พระปัจเจกพุทธเจ้าเนื้อเงิน หลวงพ่อเล็กวัดท่าขนุน ปี2550 หน้าตัก 1 ซ.ม. พระปัจเจกพุทธเจ้าเนื้อเงิน หลวงพ่อเล็กวัดท่าขนุน ปี2550 หน้าตัก 1 ซ.ม.
ข้อมูลพระ

พระกริ่ง พระชัยวัฒน์

พระเกจิฯ กาญจนบุรี

พระปัจเจกพุทธเจ้าเนื้อเงิน หลวงพ่อเล็กวัดท่าขนุน ปี2550 หน้าตัก 1 ซ.ม.

พระปัจเจกพุทธเจ้า

“พุทธะ” อันหมายถึง “ผู้รู้” นั้นมีอยู่ ๔ แบบด้วยกัน คือ
๑. สุตตพุทธะ คือ พระผู้เป็นพหูสูตร
๒. จตุสัจจพุทธะ คือ พระอรหันตขีณาสพ บางทีก็เรียกว่า อนุพุทธะ
๓. ปัจเจกพุทธะ คือ พระผู้สร้างบารมีมาอย่างน้อย ๒ อสงไขยกำไรแสนกัปจนบรรลุพระปัจเจกพุทธภูมิ
๔. สัมมาสัมพุทธะ คือ พระผู้สร้างบารมีมาอย่างน้อย ๔ อสงไขยกำไรแสนกัปจนบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เองโดยชอบ

ในที่นี้จะกล่าวถึงแต่เฉพาะ ”พุทธ” แบบที่สาม คือ พระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้น

พระปัจเจกพุทธเจ้าจะปรากฏในช่วงที่โลกว่างจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้ว่าจะตรัสรู้คราวละเป็นพันเป็นหมื่นองค์ แต่พระองค์ก็ตรัสรู้เป็นการเฉพาะของตนเท่านั้น ไม่ได้สั่งสอนบุคคลทั่วไปให้บรรลุตาม 

นอกจากบุคคลที่เคยตั้งความปรารถนาในพระปัจเจกโพธิญาณมา เมื่อเข้าไปหาพระองค์ท่าน จึงจะได้รับการสั่งสอนให้บรรลุตามความปรารถนาของตน ที่เรียกพระองค์ว่า “ปัจเจกพุทธะ” แปลว่า “ผู้รู้เฉพาะตน” ก็ด้วยเหตุนี้เอง

พระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ทรงพระคุณอันยิ่งใหญ่เช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ขาดพระสัพพัญญุตญาณ (พระญาณอันรู้รอบในทุกสรรพสิ่ง) เท่านั้น เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว มักจะพำนักอยู่ ณ เงื้อมผานันทมูลกะแห่งยอดเขาคันธมาทน์

เนื่องจากพระองค์ท่านปรารถนาการรู้เฉพาะตน คือต้องการตรัสรู้เช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ไม่ได้ปรารถนาจะสั่งสอนผู้ใด พระองค์จึงมักจะเข้านิโรธสมาบัติ แล้วเสด็จไปโปรดผู้ที่วาระของบุญจะส่งผลในช่วงนั้น

ครุกรรม (กรรมอันหนักยิ่ง) ในฝ่ายกุศลอย่างหนึ่ง ที่ทำแล้วปรากฏผลอย่างทันใจนั้น คือการได้ทำบุญกับพระผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ ผลบุญนั้นจะส่งให้ร่ำรวยภายในวันนั้นเลย ดังนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงกลายเป็นผู้บันดาลความร่ำรวยในสายตาของบุคคลทั่วไป

หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค ธุดงค์ลงไปทางปักษ์ใต้ เมื่อถึงนครศรีธรรมราช ไปได้คาถาพระปัจเจกโพธิโปรดสัตว์มาจากครูผึ้ง นำมาสงเคราะห์ลูกศิษย์จนได้ผลเป็นที่เลื่องลือ ผู้ที่ทำพระคาถานี้ได้ผลชัดเจนที่สุด คือ นายประยงค์ ตั้งตรงจิตร เจ้าของห้างขายยาตราใบโพธิ์ ตำบลท่าเตียน จังหวัดพระนคร

หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง ได้นำพระคาถานี้มาถ่ายทอดแก่บรรดาลูกศิษย์ ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงประทานพระคาถาเพิ่มขึ้นอีกหลายบท จนพัฒนามาเป็นพระคาถาเงินล้าน ให้หลวงพ่อได้ใช้สร้างวัดท่าซุง จนใหญ่โตสวยงามอย่างที่เห็นในทุกวันนี้

คณะศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อวัดท่าซุง จึงได้พึ่งพระพุทธบารมีมาโดยตลอด แต่ก็หาได้มีผู้หนึ่งผู้ใด คิดทำการตอบแทนอย่างเป็นรูปธรรมไม่ จนกระทั่งวันหนึ่ง คุณแม่อ๋อย (คุณเฉิดศรี ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา) ได้ปรารภกับหลวงตาวัชรชัยสมัยยังไม่ได้บวชว่า

“พวกเราลูกศิษย์สายหลวงพ่อ ตกเป็นหนี้พระคุณของพระปัจเจกพุทธเจ้า เจ้าของพระคาถาเงินล้าน อย่างชนิดไม่มีอะไรจะทดแทนได้ ถ้าเธอยังไม่ตาย ขอให้ได้สร้างรูปของพระองค์ท่าน ให้ปรากฏแก่ชาวโลกเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาให้ได้”

หลวงตาวัชรชัยเก็บเอาคำปรารภของคุณแม่อ๋อยไว้นานหลายปี จนกระทั่งวันเข้าพรรษา ปี ๒๕๓๑ ท่านจึงได้เอ่ยเรื่องนี้กับพระพี่พระน้องในวัดท่าซุงหลายรูป ซึ่งทุกรูปก็มีความเห็นร่วมกันว่า ต้องสร้างรูปพระปัจเจกพุทธเจ้าเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาให้ได้

ประกอบกับการเห็นพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ได้เหนื่อยยากตรากตรำในภาระ หน้าที่ต่าง ๆ ที่กระทำเพื่อพระพุทธศาสนา อยากจะช่วยแบ่งเบาภาระของท่าน จึงได้วางแผนงานกันใหญ่โต หากสำเร็จจะมีเงินถวายเป็นกองทุนภัตตาหารพระ ๒๔ ล้านบาท

เมื่อแผนงานทุกอย่างลงตัว จึงได้ออกแบบพระปัจเจกพุทธเจ้า และนำเข้ากราบเรียนขออนุญาตสร้าง ซึ่งหลวงพ่อก็อนุญาต พร้อมทั้งเมตตาแนะนำแก้ไขแบบให้ถูกต้อง คณะดำเนินงานทุกรูปแทบตัวลอยด้วยความยินดี เห็นผลสำเร็จอยู่แค่เอื้อม 

แต่ว่าบุญมีแต่กรรมมักจะมาบังเสมอ คณะดำเนินงานจะว่าไปแล้วก็ยังเป็นพระที่มีอาวุโสพรรษาน้อย พอเริ่มงานได้ ๒ วันปรากฏว่า ทั้งเงินบริจาคและทองคำไหลมาเทมา ทำให้เกิดความริษยาขึ้นในหมู่ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในคณะทำงาน

ด้วยเกรงว่าถ้างานนี้สำเร็จผู้อื่นจะได้หน้า ท่านที่ไม่รู้จักริเริ่มจึงเอาเท้าราน้ำด้วยการวิพากษ์วิจารณ์กันไปใหญ่โต หาว่าตั้งสำนักซ้อนสำนัก เรี่ยไรเอาเข้าพกเข้าห่อของตน ทำให้หลวงพ่อต้องตัดไฟแต่ต้นลม ด้วยการระงับโครงการทั้งหมด

กลายเป็นว่าแทนที่จะช่วยแบ่งเบาภาระ พวกเรากลับเอาภาระไปเพิ่มให้หลวงพ่อ เพราะท่านรับเอาโครงการนี้ไปดำเนินการเอง จนสร้างเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งแบบพระพุทธ มีพระเกตุมาลาสองส่วนเป็นที่สังเกต และเป็นแบบพระสงฆ์หน้าตัก ๔ ศอก

เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นคาใจของหลวงตาวัชรชัยมาโดยตลอด จนกระทั่งท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูภาวนาพิลาศ รองเจ้าคณะอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี จึงมีโอกาสได้สร้างรูปเหมือนพระปัจเจกพุทธเจ้า

โดยท่านสร้างเป็นรูปเหมือนขนาดหน้าตัก ๙ นิ้ว ด้วยทองคำ ๘ กิโลกรัม และสร้างรูปเหมือนลอยองค์และเหรียญพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย แล้วนิมนต์คณะทำงานสมัยนั้นมา ร่วมพุทธาภิเษก มีหลวงพ่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ เป็นองค์ประธาน

งานพุทธาภิเษกมีขึ้นในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙ พระปัจเจกพุทธเจ้าท่านเสด็จมาเอง และสั่งให้อาตมาสร้างรูปของท่านให้ญาติโยมได้บูชาด้วย โดยให้บูชาควบกับพระคาถาเงินล้าน เพื่อเสริมความคล่องตัวทางการเงินให้กับทุกคน

อาตมาเองคิดว่า ในเมื่อจะสร้างพระรวยโดยตรง ก็ควรทำด้วยวัสดุมีค่าเท่าที่จะพึงหาได้ จึงสร้างรูปหล่อลอยองค์ ขนาดหน้าตัก ๑ เซนติเมตร ด้วยเงินและทองคำเท่านั้น 

โดยจ่ายค่าเม็ดเงินจำนวน ๕๐ กิโลกรัมไป ๗๖๒,๖๐๐ บาท
ค่าทองคำแท่ง ๑๐๕ บาท เป็นเงิน ๑,๑๗๐,๗๕๐ บาท 
ค่าทองรูปพรรณ ๓ บาท เป็นเงิน ๓๔,๖๕๐ บาท 
ค่าหล่อรูปเหมือนเนื้อเงิน ๔,๘๘๔ องค์ เป็นเงิน ๙๗,๖๘๐ บาท 
ค่าหล่อรูปเหมือนเนื้อทองคำ ๒๔๖ องค์ ๔๙,๒๐๐ บาท 
รวมจ่ายทั้งสิ้น ๒,๑๑๔,๘๘๐ บาท

โดยมีการบวงสรวง ๓ วาระด้วยกัน คือ 
ครั้งแรกเป็นการบวงสรวงขออนุญาตสร้างเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๙ 
ครั้งที่ ๒ เป็นการบวงสรวงพุทธาภิเษกและทำการเป่ายันต์เกราะเพชร ในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ โดยนำเม็ดเงินและทองคำเข้าพิธีพุทธาภิเษกด้วย
ครั้งที่ ๓ เป็นการบวงสรวงพุทธาภิเษกและเป่ายันต์เกราะเพชร ในวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๐ 

โดยมีเรื่องที่น่ากล่าวถึงเป็นอย่างมากคือ พิธีหล่อในวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๐ ณ โรงหล่อช่างจ๋า ถนนพุทธมณฑล สาย ๔

เมื่อช่างเริ่มทำการหลอมทองคำ อาตมาเองเหมือนถูกกดด้วยพลังงานบางอย่าง สมาธิดิ่งลึกแนบแน่นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม เสด็จมาโปรด แล้วทรงมอบหมายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าควบคุมการหล่อรูปของพระองค์เอง

ปกติในการหล่อพระ อาตมาจะภาวนาบท “นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มเหสินังฯ” แต่ครั้งนี้เหมือนกับความจำเสื่อม ทั้งที่สวดตอนทำวัตรเย็นทุกวัน แต่นึกไม่ออกว่าจะภาวนาอย่างไร ? จึงกราบทูลถามพระปัจเจกพุทธเจ้า 

พระองค์ท่านตอบว่าบท “นะโม เม สัพพะพุทธานังฯ” เป็นบทสรรเสริญสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่านเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงไม่ควรใช้บทนี้ ตลอดระยะเวลาในการหล่อหลายชั่วโมง ท่านให้อาตมาภาวนาด้วยพระคาถาเงินล้านเพียงอย่างเดียว

ต่อมาปรากฏพระสุปฏิปันโน พรหม เทวดา มาสงเคราะห์มากเป็นพิเศษ ดังนี้
๑. หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ 
๒. หลวงปู่ โต วัดระฆัง
๓. หลวงปู่เนียม วัดน้อย 
๔. หลวงปู่คล้าย วัดบางนมโค 
๕. หลวงปู่ปั้น วัดพิกุล 
๖. หลวงปู่จ้อย วัดบ้านแพน 
๗. หลวงปู่พริ้ง วัดบางปะกอก 
๘. หลวงปู่สังข์ วัดน้ำเต้า
๙. หลวงปู่จง วัดหน้าต่างนอก 
๑๐. หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค
๑๑. หลวงปู่เล็ก วัดบางนมโค 
๑๒. สมเด็จพระสังฆราช(อยู่ ) วัดสระเกศ
๑๓. หลวงปู่สด วัดปากน้ำ 
๑๔. หลวงปู่นวม วัดอนงคาราม
๑๕. หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว 
๑๖. หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
๑๗. หลวงปู่มั่น วัดป่าสุทธาวาส 
๑๘. หลวงปู่ครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง
๑๙. หลวงปู่คล้าย วัดสวนขัน 
๒๐. หลวงปู่คลิ้ง วัดถลุงทอง
๒๑. หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง 
๒๒. หลวงปู่ชุ่ม วัดวังมุย
๒๓. หลวงปู่คำแสนใหญ่ วัดสวนดอก 
๒๔. หลวงปู่คำแสนเล็ก วัดดอนมูล 
๒๕. หลวงปู่ดู่ วัดสะแก 
๒๖. หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญสุข 
๒๗. หลวงปู่มา วัดสามปลื้ม 
๒๘. หลวงปู่ไชยวงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
๒๙. หลวงปู่ธรรมชัย วัดทุ่งหลวง 
๓๐. หลวงปู่จ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์
๓๑. หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง 
๓๒. หลวงปู่มหาอำพัน วัดเทพศิรินทราวาส 

โดยเฉพาะหลวงปู่มา วัดสามปลื้ม กับ หลวงปู่จ้อย วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ นั้น นับเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึง เพราะไม่คุ้นเคยกับท่านมาก่อน ในส่วนของพรหม เทวดา นอกจากท่านปู่ท้าวสหัมบดีพรหม ท่านปู่พระอินทร์ และท้าวมหาราชทั้ง ๔ แล้ว 

ที่คาดไม่ถึงเป็นอย่างยิ่งก็คือ ท่านท้าวจตุคามและท่านท้าวรามเทพ อุตส่าห์มากับเขาด้วย มาถึงก็ถามว่า 
 

“ ตรงนี้ไม่เชิญพวกผมหรือครับ ? ”
“ในเมื่อมาแล้วก็ช่วยสงเคราะห์ด้วยซิ..”


เลยได้เฮฮากันใหญ่ เพราะนาทีนี้ท่านดังสุด ๆ จริง ๆ
ต้องคลายสมาธิออกมาเพื่อดูงาน เข้าแล้วออก ออกแล้วเข้าอยู่สามวาระด้วยกัน งานจึงเสร็จเรียบร้อยลงด้วยดี รูปหล่อนี้ให้ใช้ควบคู่กับพระคาถาเงินล้าน ที่สำคัญคือถ้าสามารถใส่บาตรได้ทุกวันจะมีผลมาก ใส่เป็นอาหารก็ได้ ใส่เป็นปัจจัยใด ๆ ก็ได้
 

พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐

 

-

ให้เช่าแล้ว

22 มิ.ย. 61 @ 15:58
22 มิ.ย. 61 @ 18:37
ความเห็นต่อพระเครื่ององค์นี้

รายงานผลโหวต
พระแท้แน่นอน 0% [0 คน]
ข้อมูลผิด 0% [0 คน]
ดูยาก 0% [0 คน]
พระไม่แท้ 0% [0 คน]

จำนวนผู้โหวต 0 คน
ข้อมูลร้านค้า

NA CHA LI TI

NACHALITI (0) ยืนยันตัวตนแล้ว


วรี สุนทรสาร

9140136640 ประเภทบัญชี: ออมทรัพย์

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

เทสโก้ โลตัส รัตนาธิเบศร์


นนทบุรี  11000

0886445641

nachaliti456@gmail.com

สถิติร้านค้า
จำนวนพระเครื่อง 757 องค์
จำนวนผู้ชมทั้งหมด 455,030 คน
อัตราการชมเฉลี่ย 601.1 ครั้ง/องค์
  •    พร้อมเช่า: 272 องค์ (35.93%)
  •    พระโชว์: 13 องค์ (1.72%)
  •    ประมูลอยู่: 0 องค์ (0%)
  •    จองแล้ว: 0 องค์ (0%)
  •    ให้เช่าแล้ว: 472 องค์ (62.35%)

ฝากข้อความหากัน เจ้าของร้าน <-> ผู้เยี่ยมชม

ข้อความจากเจ้าของร้าน

ข้อความจากผู้เยี่ยมชม